วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ตารางธาตุ














พันธะเคมี

พันธะเคมี คือแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมภายในโมเลกุลหรือระหว่างโมเลกุลด้วยกันเอง พันธะเคมีสามารถแบ่งได้หลายประเภท เช่น
พันธะโควาเลนต์
พันธะโลหะ
พันธะไอออนิก
ฯลฯ



พันธะโควาเลนต์ (Covalent bond)
คือพันธะเคมี (chemical bond) ภายในโมเลกุลชนิดหนึ่ง พันธะโควาเลนต์เกิดจากอะตอมสองอะตอมใช้วาเลนซ์อิเล็กตรอนหนึ่งคู่หรือมากกว่าร่วมกัน ทำให้เกิดแรงดึงดูดที่รวมอะตอมเป็นโมเลกุลขึ้น อะตอมมักสร้างพันธะโควาเลนต์เพื่อเติมวงโคจรอิเล็กตรอนรอบนอกสุดของตัวเองให้เต็ม ดังนั้นอะตอมที่สร้างพันธะโควาเลนต์จึงมักมีวาเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่มาก เช่น ธาตุหมู่ VI และหมู่ VII เป็นต้น พันธะโควาเลนต์แข็งแรงกว่าพันธะไฮโดรเจนและมีความแข็งแรงพอๆ กับพันธะไอออนิก
พันธะโควาเลนต์มักเกิดขึ้นระหว่างอะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาทิวิตีใกล้เคียงกัน ธาตุอโลหะมีแนวโน้มที่จะสร้างพันธะโควาเลนต์มากกว่าธาตุโลหะซึ่งมักสร้างพันธะโลหะ เนื่องจากอิเล็กตรอนของธาตุโลหะสามารถเคลื่อนอย่างอิสระ ในทางกลับกัน อิเล็กตรอนของธาตุอโลหะไม่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระนัก การใช้อิเล็กตรอนร่วมกันจึงเป็นทางเลือกเดียวในการสร้างพันธะกับธาตุที่มีสมบัติคล้ายๆ กัน อย่างไรก็ดี พันธะโควาเลนต์ที่มีโลหะนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเร่งปฏิกิริยา ตัวอย่างเช่น พันธะโควาเลนต์ระหว่างสาอินทรีย์กับโลหะเป็นเครื่องมือสำคัญของกระบวนการสร้างพอลิเมอร์หลายๆ กระบวนการ เป็นต้น

พันธะไอออนิค (พันธะไอออน) (ionic bond)
เกิดจากที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมสร้างพันธะกันโดยที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมให้อิเล็กตรอนกับอะตอมหรือกลุ่มของอะตอม ทำให้กลายเป็นประจุบวก ในขณะที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมที่ได้รับอิเล็กตรอนนั้นกลายเป็นประจุลบ เนื่องจากทั้งสองกลุ่มมีประจุตรงกันข้ามกันจะดึงดูดกัน ทำให้เกิดพันธะไอออน โดยทั่วไปพันธะชนิดนี้มักเกิดขึ้นระหว่างโลหะกับอโลหะโดยอะตอมที่ให้อิเล็กตรอนมักเป็นโลหะ ทำให้โลหะนั้นมีประจุบวก และอะตอมที่รับอิเล็กตรอนมักเป็นอโลหะ จึงมีประจุลบ ไอออนที่พันธะไอออนมีความแข็งแรงมากกว่าพันธะไฮโดรเจน แต่แข็งแรงพอ ๆ กับพันธะโคเวเลนต์

พันธะโลหะ (Metallic bonding)
เป็นพันธะภายในโลหะซึ่งเกี่ยวข้องกับ การเคลื่อนย้าย อิเล็กตรอน อิสระระหว่างแลตทิซของอะตอมโลหะ ดังนั้นพันธะโลหะจึงอาจเปรียบได้กับเกลือที่หลอมเหลว อะตอมของโลหะมีอิเล็กตรอนพิเศษเฉพาะในวงโคจรชั้นนอกของมันเทียบกับคาบ (period) หรือระดับพลังงานของพวกมัน อิเล็กตรอนที่เคลื่อนย้ายเหล่านี้เปรียบได้กับทะเลอิเล็กตรอน(Sea of Electrons) ล้อมรอบแลตทิชขนาดใหญ่ของไอออนบวก
พันธะโลหะเทียบได้กับ
พันธะโควาเลนต์ที่เป็น นอน-โพลาร์ ที่จะไม่มีในธาตุโลหะบริสุทธ์ หรือมีน้อยมากในโลหะผสม ความแตกต่าง อิเล็กโตรเนกาทิวิตีระหว่างอะตอม ซึ่งมีส่วนในปฏิกิริยาพันธะ และอิเล็กตรอนที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาจะเคลื่อนย้ายข้ามระหว่างโครงสร้างผลึกของโลหะ พันธะโลหะเขียนสูตรทางเคมีไม่ได้ เพราะไม่ทราบจำนวนอะตอมที่แท้จริง อาจจะมีเป็นล้านๆ อะตอมก็ได้ พันธะโลหะจะมีความสำคัญต่อคุณสมบัติทางฟิสิกส์หลายอย่างของโลหะเช่น
ความแข็งแรง
ตีแผ่เป็นแผ่นได้(malleability)
ดึงเป็นเส้นได้ (ductility)
นำความร้อนไดดี
นำ
ไฟฟ้าได้ดีและนำได้ทุกทิศทาง
เนื้อเป็นเงา (luster)

วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การกลั่น

การกลั่น เป็นการแยกสารโดยใช้หลักการการระเหยและการควบแน่น
โดย มีการกลั่นอยู่ 4 แบบ คือ

1.การกลั่นแบบธรรมดา
2.การกลั่นแบบลำดับส่วน
3.การกลั่นแบบไอน้ำ
4.การกลั่นแบบลดความดัน

วิธีการคือ สารละลายโดนความร้อนและเดือดและระเหยขึ้นไปเป็นไอและเจอความเย็นและเกิดการควบแน่น
กลับมาเป็นสารละลายชนิดนั้นเหมือนเดิม

ข้อดี : แยกสารได้โดยสารทั้งหมดยังอยู่ครบเหมือนเดิม เอาน้ำกลับมากลั่นต่อได้ สารที่แยกออกมามีความบริสุทธิ์มากขึ้น และได้ปริมาณมาก

ข้อเสีย : อุปกรณ์มีราคาแพงและซับซ้อน และต้องใช้พลังงานมาก

วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การแยกสาร

มีน้ำตาลทราย เกลือ ขี้เลื่อย ขี้เหล็ก ทราย หินกรวด รวมกันอยู่ทำการแยกได้โดย

1. แยกหินออกมาก่อน
2. เอาไปผสมน้ำ แล้วขี้เลื่อยกับขี้เหล็กจะลอยขึ้นมา
3. นำแม่เหล็กมาดูดขี้เหล็กออก
4. เอาตะแกรงกรองขี้เลื่อยออก
5. เอาน้ำไปต้มให้ร้อน
6. น้ำตาล กับ เกลือจะละลาย จากนั้นก็เทน้ำไว้อีกขวด/ภาชนะอื่น
7. จะได้ทรายอยู่ที่ภาชนะเดิม
8. จากนั้นก็นำเกลือกับน้ำตาลไปแยก โดยการตกผลึก

วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2551

สารเนื้อผสม กับ สารเนื้อเดียว

สารเนื้อเดียว คือ สารที่ดูด้วยตาแล้วเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น ทราย เกลือ ผ้า กางเกง เสื้อ


สารเนื้อผสม คือ สารที่ดูด้วยตาแล้วไม่เป็นเนื้อเดียวกัน มีหลายอย่างประกอบอยู่ เช่น นาฬิกา โทรศัพท์